ผลประกอบการของ กูเกิล ในไตรมาส 2 ของปีนี้ (ถึงสิ้นเดือนมิถุนายน) มีกำไร เพิ่มสูงขึ้นจาก 1,480 ล้านเหรียญ เป็น 1,840 ล้านเหรียญ แต่เพิ่มขึ้นน้อยจนเป็นที่กังขาของนักลงทุน ในขณะที่กูเกิลชี้แจงว่าในไตรมาสดังกล่าวค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานเพิ่มสูง ขึ้นมาก เพราะมีการจ้างพนักงานเพิ่มขึ้นถึง 1,200 คน
อีกจุดหนึ่งที่ บรรดานักวิเคราะห์ทาง การเงินตั้งคำถามก็คือ การที่กูเกิลลงทุนไปกับระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์นั้นได้ผลตอบแทนใด ๆ กลับมาบ้าง
เพราะรู้กันดีว่าแอนดรอยด์เป็นระบบปฏิบัติการแบบโอ เพ่นซอร์ซ ซึ่งเป็นของฟรี ผู้ผลิตโทรศัพท์หรืออุปกรณ์โมบายอื่น ๆ สามารถนำมันไปใช้ได้โดยอิสระ สามารถดัดแปลงแก้ไขและผลิตออกมาขายได้โดยไม่ต้องมีค่าใช้จ่ายในด้านระบบ ปฏิบัติการที่นำไปใช้ ซึ่งก็มีบริษัทจำนวนมากผลิตโทรศัพท์มือถือแอนดรอยด์ออกมามากจนถึงปัจจุบันมี แล้วกว่า 30 รุ่น
อันที่จริงคำถามนี้ไม่เพียงเป็นคำถามที่นักวิเคราะห์ทางการเงินสงสัย คนทั่ว ๆ ไปก็สงสัยด้วยเช่นกัน
คำ ตอบของกูเกิลก็คือ การลงทุนไปกับแอนดรอยด์นั้นไม่ได้เป็นการลงทุนอย่างมากมายมหาศาล และระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์โดยตัวมันเองก็ไม่ใช่สินทรัพย์ของบริษัทที่จะก่อ ให้เกิดรายได้ เนื่องจากมันเป็นโอเพ่นซอร์ซนั่นเอง
เปรียบไปก็เหมือนเป็นสมบัติสาธารณะที่ทุกคนมีสิทธิเอาไปใช้
ทว่า สิ่งที่กูเกิลได้กลับมาจากแอนดรอยด์ ก็คือ การทำให้เกิดระบบสภาวะแวดล้อมที่สำคัญ ทำให้เกิดรายได้จากโฆษณาผ่านเสิร์ชเอ็นจิ้นของกูเกิลกลับมาเห็นได้จาก ช่วงครึ่งปีแรกของปีนี้การค้นหาผ่านโทรศัพท์ แอนดรอยด์เพิ่มขึ้นถึง 300 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่รายได้จากโฆษณาผ่านเสิร์ชเอ็นจิ้นเป็นรายได้หลักของกูเกิลมาโดยตลอด นับแต่ก่อตั้งบริษัทมาจนถึงปัจจุบัน
กูเกิลยืนยันว่าแอปพลิเคชั่นที่ นิยมมากที่สุดบนแอนดรอยด์ก็คือ เว็บบราวเซอร์ และการค้นหาผ่านเว็บบราวเซอร์บน โทรศัพท์แอนดรอยด์นั้นถี่กว่าที่คนใช้บนสมาร์ทโฟนรุ่นก่อน ๆ